เมนู

เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระพุทธเจ้าเป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ขอทูลถามพระองค์ ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์.

ว่าด้วยวิเวก 3 อย่าง


[702] ชื่อว่า วิเวก ในคำว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณ
ใหญ่
ดังนี้ วิเวกมี 3 อย่าง คือ กายวิเวก 1 จิตตวิเวก 1 อุปธิวิเวก 1.
กายวิเวกเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมซ่องเสพเสนาสนะอัน
สงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
และเป็นผู้สงัดด้วยกายอยู่ เธอเดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้
เดียว เข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่หลีกเร้นผู้เดียว
อธิษฐานจงกรมผู้เดียว ผู้เดียวเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ
เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา นี้ชื่อว่ากายวิเวก.
จิตตวิเวกเป็นไฉน ภิกษุบรรลุปฐมฌาน มีจิตสงัดจากนิวรณ์ บรรลุ
ทุติยฌาน มีจิตสงัดจากวิตกวิจาร บรรลุตติยฌาน มีจิตสงัดจากปีติ บรรลุ
จตุตถฌาน มีจิตสงัดจากสุขและทุกข์ บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน มีจิต
สงัดจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และมานัตตสัญญา บรรลุวิญญาณัญจายตน-
ฌาน มีจิตสงัดจากอากาสานัญจายตนสัญญา บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน
มีจิตสงัดจากวิญญาณัญจายตนสัญญา บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
มีจิตสงัดจากอากิญจัญญายตนสัญญา (เมื่อภิกษุนั้น) เป็นพระโสดาบัน
มีจิตสงัดจากสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจ-
ฉานุสัย และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับสักกายทิฏฐิเป็นต้นนั้น
เป็นพระสกทาคามี มีจิตสงัดจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์

กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ ๆ และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่า
เดียวกันกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น เป็นพระอนาคามี มีจิตสงัดจาก
กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยอย่างละเอียด ๆ
และจากกิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น เป็น
พระอรหันต์ มีจิตสงัดจากรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย
ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย กิเลสที่ตั้งอยู่ในเหล่าเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้น
นั้น และจากสังขารนิมิตทั้งปวงในภายนอก นี้ชื่อว่า จิตตวิเวก.
อุปธิวิเวกเป็นไฉน กิเลสก็ดี ขันธ์ก็ดี อภิสังขารก็ดี เรียกว่า
อุปธิ อมตนิพพาน เรียกว่าอุปธิวิเวก ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง
เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่สำรอกตัณหา เป็นที่
ดับตัณหา เป็นที่ออกไปจากตัณหาเครื่องร้อยรัด นี้ชื่อว่า อุปธิวิเวก.
ก็กายวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีกายหลีกออก ยินดียิ่งในเนกขัมมะ
จิตตวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีจิตผ่องแผ้ว
อย่างยิ่ง อุปธิวิเวกย่อมมีแก่บุคคลผู้หมดอุปธิ ถึงซึ่งนิพพานอันเป็น
วิสังขาร.
คำว่า สันติ ได้แก่สันติบ้าง สันติบทบ้าง โดยอาการอย่างเดียวกัน
ก็สันติบทนั้นนั่นแล คือ อมตนิพพาน ได้แก่ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้ง-
ปวง . . . เป็นที่ออกจากตัณหาเครื่องร้อยรัด สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า บทใด คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง . . . เป็นที่ออกจาก
ตัณหาเครื่องร้อยรัด บทนั้นเป็นความสงบ เป็นธรรมชาติประณีต อีก
อย่างหนึ่ง โดยอาการอื่น ธรรมเหล่าใด ย่อมเป็นไปเพื่อบรรลุความสงบ
เพื่อถูกต้องความสงบ เพื่อทำให้แจ้งความสงบ คือ สติปัฏฐาน 4

สัมมัปปธาน อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริย-
มรรคมีองค์ 8 ธรรมเหล่านี้ เรียกว่าสันติบท บทสงบ ตาณบท บทที่
ต้านทาน เลณบท บทที่ซ่อนเร้น สรณบท บทที่พึ่ง อภยบท บทไม่มีภัย
อัจจุตบท บทไม่เคลื่อน อมตบท บทไม่ตาย นิพพานบท บทดับตัณหา.
คำว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสวงหาคุณใหญ่ คือทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งศีลขันธ์ใหญ่
สมาธิขันธ์ใหญ่ ปัญญาขันธ์ใหญ่ วิมุตติขันธ์ใหญ่ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์
ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณใหญ่.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งความทำลาย
กองมืดใหญ่ ความทำลายวิปลาสใหญ่ ความถอนลูกศรคือตัณหาใหญ่
ความปลดเปลื้องโครงคือทิฏฐิใหญ่ ความกำจัดธงคือมานะใหญ่ ความ
ระงับอภิสังขารใหญ่ ความปิดกั้นโอฆะใหญ่ ความปลงภาระใหญ่ ความ
ดับสังสารวัฏใหญ่ ความดับความเดือดร้อนใหญ่ ความระงับความเร่าร้อน
ใหญ่ ความยกขึ้นซึ่งธงคือธรรมใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้แสวงหา
คุณใหญ่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งสติปัฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริย-
มรรคมีองค์ 8 อมตนิพพานเป็นปรมัตถ์ใหญ่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้
แสวงหาคุณใหญ่.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้อันสัตว์ทั้งหลายที่มีศักดิ์มาก
แสวงหา เสาะหา ค้นหาว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอยู่ที่ไหน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับอยู่ที่ไหน พระพุทธเจ้าเป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดาประทับอยู่ที่ไหน

พระพุทธเจ้าผู้องอาจกว่านรชนประทับอยู่ที่ไหน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้
แสวงหาคุณใหญ่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหา
คุณใหญ่.

[703] คำว่า ภิกษุเห็นอย่างไรแล้ว . . .ย่อมดับ ความว่า ภิกษุ
เห็น พบ เทียบเคียง พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง
อย่างไรจึงดับ สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ ระงับ ซึ่งราคะ โทสะ
โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความ
ริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี
ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริต
ทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อน
ทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวงของตน. คำว่า ภิกษุ คือภิกษุที่เป็น
กัลยาณปุถุชนหรือภิกษุที่เป็นเสขบุคคล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเห็น
อย่างไรแล้ว . . . ย่อมดับ.
[704] คำว่า ไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก ความว่า ไม่ถือ
มั่น ไม่ยึด ไม่จับต้องด้วยอุปาทาน 4. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก
มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก อายตนโลก. คำว่า สังขารอะไร คือ
สังขารอะไร ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก เพราะฉะนั้น พระพุทธนิมิตนั้น
จึงตรัสถามว่า
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระ-
อาทิตย์ ผู้สงัด มีสันติบท แสวงหาคุณใหญ่ว่า ภิกษุเห็น
อย่างไรแล้วจึงไม่ถือมั่นซึ่งสังขารอะไรในโลก ย่อมดับ.

[705] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัดบาป
ธรรมทั้งปวง คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่อง
เนิ่นช้าและอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ก็ตัณหาอย่างใดอย่าง
หนึ่งที่มี ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษาเพื่อกำจัดซึ่ง
ตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ.


ว่าด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า


[706] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ภิกษุพึงกำจัด
บาปธรรมทั้งปวง
คือกิเลสที่เป็นรากเหง้าแห่งส่วนธรรมเครื่องเนิ่นช้า
และอัสมิมานะ ด้วยปัญญา ความว่า ธรรมเครื่องเนิ่นช้านั่นแหละ ชื่อว่า
ส่วนแห่งธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ได้แก่ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า คือ
ตัณหาและส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ.
รากเหง้าของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหาเป็นไฉน อวิชชา อโย-
นิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเหง้า
แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา.

รากเหง้าแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิเป็นไฉน อวิชชา อโย-
นิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ นี้เป็นรากเหง้า
แห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือทิฏฐิ.

คำว่า ภควา เป็นพระนามเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่าง
หนึ่ง คำว่า ภควา ความว่า ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ผู้ทำลายราคะ
ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลายทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม
ทำลายกิเลส และเพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนกพิเศษ ทรง